หมวด รำคู่
รจนาเสี่ยงพวงมาลัย




รจนาเสี่ยงพวงมาลัย


ปรากฏในการแสดงละครนอก ซึ่งเป็นละครรำที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเป็นละครที่ได้พื้นฐานมาจากละครชาตรี ลักษณะการแสดงใช้ผู้ชายแสดงล้วน มุ่งดำเนินรวดเร็ว กระบวนท่ารำไม่ประณีต พิถีพิถัน ทั้งยังไม่เคร่งครัดจารีตประเพณี






รจนาเสี่ยงพวงมาลัย นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย




ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงได้ริเริ่มให้นางละครของหลวงแสดงละครนอกตามแบบอย่างละครชาวบ้าน โดยทรงเลือกบทละครนอกครั้งกรุงเก่า เฉพาะตอนที่ทรงเห็นว่าน่าเล่นละครมาทรงแก้ไขปรับปรุงสำนวนกลอนให้กระชับ และเหมาะแก่การแสดง แต่ยังคงความหมายเดิมอย่างครบถ้วน จึงเกิดเป็น 'ละครนอกแบบหลวง' ขึ้น กล่าวกันว่า หลังจากทรงพระราชนิพนธ์กลอนบทละครแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงประดิษฐ์กระบวนท่ารำ บางครั้งถึงกับทรงต้องปรับแก้กระบวน ตามประวัติการแสดงของกรมศิลปากร พบว่า การแสดงครั้งแรกเป็นการแสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศฮ่องกง โดยนางส่องชาติ ชื่นศิริ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ละครรำ) พ.ศ. 2535 แสดงเป็นนางรจนา นางสยม ฤทธิ์จรุง แสดงเป็นเจ้าเงาะ






รจนาเสี่ยงพวงมาลัย นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย




ต่อมาได้จัดการแสดงเผยแพร่ ณ. โรงละครศิลปากร โดยนางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ - ละครรำ)
พ.ศ. 2533 แสดงเป็นเจ้าเงาะ นางสุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ แสดงเป็นนางรจนา และการแสดงทั้งสองครั้งถ่ายทอดกระบวนท่ารำ
โดยนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก หม่อมครูต่วน และนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลง ลีลากระทุ่ม เพลง
ลมพัดชายเขา เพลงเชิดฉิ่ง และเพลงเร็ว - ลา








โอกาศที่ใช้แสดง

- งานมงคลต่างๆ

- งานต้อนรับชาวต่างชาติ

- งานอีเว้นต์

- งานอวมงคล

- งานเปิดตัวสินค้า





โอกาศที่ใช้แสดง


ชมแล้ว [ 4872 ] 28 ธ.ค. 59 10:08


กลับ